Site icon A Good Many

กำเนิดปฏิทิน ใครสร้างปฏิทินขึ้นมาคนแรก?

calendar
ปฏิทิน 2564

หากสิ่งที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันเป็นรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ หรือแม้กระทั่งแก้วกาแฟใบโปรดเกิดชำรุดขึ้นมา เราจะรู้อายุขัยล่วงหน้าของสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้หรือไม่ เพื่อที่เราจะได้เตรียมพร้อมซื้อใหม่มาสำรองใช้ให้ทันเวลา หรือ หาอะไรมาทดแทนเพื่อใช้ได้ทันท่วงที แน่นอนละว่า คำตอบคือ “แทบเป็นไปไม่ได้เลย” และยิ่งชีวิตของเราแล้ว ยิ่งไปกันใหญ่ เราไม่สามารถล่วงรู้วันเวลาที่จะเกิดเหตุการณ์ใดๆล่วงหน้าได้แม่นยำนัก หากเราไม่มีการประเมิณทางสถิติที่แม่นยำ เราอาจเรียกมันว่า “การพยากรณ์” น่าจะดีกว่าคำว่า “คาดเดา” อยู่หลายนัย แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรื่องปฏิทินที่เราต้องการจะเล่าในวันนี้ . . . คำตอบคือ มันคือส่วนหนึ่งของการใช้ปฏิทินให้เกิดประโยชน์ เป็นการต่อยอดจากการแค่ดูกำหนดวันเวลาเฉยๆอย่างไรหล่ะครับ
แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมดในสิ่งที่เราจะมาบอกในวันนี้ หากแต่เราจะพาย้อนกลับไปถึงเรื่องปฏิทินฉบับแรก แต่ก่อนอื่นนั้นเราต้องรู้ก่อนว่า มนุษย์เรารู้จักกับวันเวลาได้อย่างไร

กำเนิดวันเวลาแห่งจักรวาล

วัน เวลา เป็นสิ่งที่กำเนิดขึ้นมาพร้อมๆกับการกำเนิดในทุกสรรพสิ่ง เพราะเรานิยามให้มันเป็นหนึ่งในหน่วยสำหรับการนับเพื่อสังเกตการณ์ ฉะนั้นการกำหนดช่วงระยะเวลาหนึ่งที่เกิดขึ้นจึงถือเป็นการบอกความห่าง หรือระยะของเวลาจากจุดกำเนิดเวลาที่เรากำหนดจนถึงจุดที่เราสังเกตการณ์ ฉะนั้นในทุกวันนี้เราจึงยังไม่ทราบเวลาแรกของการกำเนิดจักรวาลที่แน่นอน เราจึงบอกจุดกำเนิดมันไม่ได้ หากแต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีสิ่งใดๆก็ตามที่กำเนิดขึ้นมาแล้วเราก็ย่อมสามารถหาระยะเวลาประมาณการย้อนกลับได้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นเราจึงสามารถบอกอายุประมาณการของโลกใบนี้ได้ บอกอายุของสรรพสิ่งบนโลกนี้ได้เกือบทั้งหมด ดังนั้นหากเราถามว่าเมื่อเรารู้จุดกำเนิดเวลาจุดหนึ่งแล้ว เราสามารถนำไปทำอะไรได้อีก นั่นจึงเป็นที่มาของการที่มนุษย์เราเริ่มมีการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของบางสิ่ง นั่นคือ ดวงดาว ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และนำไปสู่การเกิดเป็นการนับเวลาต่อไป

กำเนิดปฏิทิน

ก่อนเริ่มที่จะมีปฏิทิน ลองจินตนาการเล่นว่ามนุษย์ในยุคโบราณทำอะไรกับเวลาที่รับรู้มาบ้าง อาจจะสังเกตวันเวลาเพื่อที่จะกำหนดวันเวลาในการล่าสัตว์ อาจจะมีไว้ทวงหนี้ อาจจะมีไว้เพื่อการเฉลิมฉลองในวันครบรอบวันสำคัญๆ เช่นการสถาปนาอาณาจักร การเฉลิมฉลองในการล้มแมมมอธยักษ์ หรืออาจจะมีไว้เพื่อให้รู้ว่าเมื่อใดที่น้ำจะขึ้นเพื่อให้การเดินเรือราบรื่น หรือไม่แน่แค่อาจจะเอาไว้ดูการประกอบพิธีกรรมบางอย่างเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อบ้านเมืองก็ได้ ดังนั้นหากวันเวลาดังกล่าวมีความซับซ้อนขึ้น ชุมชนใหญ่ขึ้น การติดต่อสื่อสาร หรือแม้กระทั่งจะซุบซิบพูดคุยกันแล้วด้างอิงถึงวันเวลาดังกล่าวมันยากลำบากขึ้น แน่นอนว่าย่อมมีนักปราชญ์สมองเปรื่องสักคนคิดค้นวิธีในการอ้างอิงความสมมติสักอย่างเพื่อทำหน้าที่ในการอ้างอิงเหตุการณ์กับช่วงระยะเวลาหนึ่งจนเกิดเป็นระบบหนึ่งขึ้นมา . . . ปฏิทิน

ปฏิทินคือระบบหนึ่งที่ใช้เรียกช่วงระยะเวลาที่เราอ้างอิงกับการเคลื่อนที่ของระบบดวงดาวในทางดาราศาสตร์ เริ่มแรกการกำเนิดปฏิทินต้องย้อนกลับไปยังหลักฐานทางโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุดที่เราค้นพบและคาดว่ามันคือปฏิทิน นั่นก็คือ ปฏิทินของชาวสุเมเรียน ซึ่งมีอายุถึงราว 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช อยู่ในช่วงของยุคสำริด(Bronze Age) และนี่คือสิ่งที่คาดว่าเป็นปฏิทินในสมัยสุเมเรียนนี้

The Sumerian Calendar

และสมัยต่อมาก็มาเป็นปฏิทินของชาวอียิปต์โบราณ ซึ่งใช้วิธีสังเกตฤดูกาลตามกาลเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เฉกเช่นเดียวกันกับปฏิทินของชาวสุเมเรียน เพียงแต่มีรายละเอียดการกำหนดวัน เวลา ที่แตกต่างกันอันนี้ผมไม่ลงรายละเอียดเท่าใดนักเพราะมันเป็นเรื่องของระบบตัวเลขที่ถูกกำหนดในยุคนั้น แต่ให้ทราบเพียงว่ามันเป็นปฏิทินแบบที่เรานิยมเรียกกันว่า ปฏิทินสุริยคติ(Solar calendar)

Egyptian calendar – Wikipedia

ต่อมาก็มีรูปแบบปฏิทินที่เราใช้การสังเกตรูปแบบของเวลาจากการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ เป็นปฏิทินที่มีกรอบระยะเวลาที่ซ้ำช้าในหนึ่งรอบการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ ไม่ยาวนานเหมือนแบบฤดูกาลที่ใช้การสังเกตจากดวงอาทิตย์ เรียกรูปแบบนี้ว่า ปฏิทินจันทรคติ(Lunar calendar) ซึ่งคาดการณ์ว่าปฏิทินแบบนี้เป็นรูปแบบปฏิทินที่เก่าแก่ที่สุด หากแต่ไม่มีหลักฐานที่เป็นสิ่งที่จะพอให้น้ำหนักแก่นักโบราณคดีได้ยืนยันได้ชัดเจนเท่าไรนัก เพราะการสังเกตดวงจันทร์ซึ่งสามารถสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าการเฝ้าดูดวงอาทิตย์ซึ่งมีกรอบระยะเวลาที่ยาวนานกว่านั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่พอจะยืนยันเรื่องการใช้ปฏิทินรูปแบบนี้ได้แก่ ปฏิทินชาวยิวโบราณ ปฏิทินจีน

ปฏิทินอีกประเภทที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากทั้งสองแบบที่กล่าวมานั่นคือปฏิทินอย่าง ปฏิทินชาวบาบิโลน ซึ่งถือว่ามีความแม่นยำกว่าของดั้งเดิมที่เอามาพัฒนาอย่างปฏิทินของชาวสุเมเรียน โดยการกำหนดเวลาของปฏิทินที่ละเอียดกว่าเดิมจากการใช้ทั้งดวงจันทร์บอกระยะเวลาเดือน และดวงอาทิตย์บอกระยะเวลาวัน ร่วมกับฤดูกาลเป็นการบอกเดือน ทำให้ปฏิทินแบบนี้สามารถให้ความแม่นยำที่ใกล้เคียงกว่ารูปแบบเดิม เรียกปฏิทินแบบนี้ว่า ปฏิทินสุริยจันทรคติ(Lunisolar calendar) ซึ่งมีหน้าตาอย่างในภาพข้างล่าง // ใครอ่านได้ช่วยบอกทีเค้าเขียนว่าอะไร

The Babylonian Calendar (uu.nl)

ประเภทของปฏิทิน

จากหัวข้อที่แล้วหากเราจะแบ่งประเภทของปฏิทินที่เกิดขึ้นจากการสังเกตรูปแบบการเคลื่อนที่ของระบบดาราศาสตร์ที่นิยมใช้กันมา เราจะกล่าวได้ว่ามี 3 รูปแบบด้วยกันได้แก่

  1. ปฏิทินสุริยคติ(Solar calendar)
  2. ปฏิทินจันทรคติ(Lunar calendar)
  3. ปฏิทินสุริยจันทรคติ(Lunisolar calendar)

ซึ่งหลังจากความเจริญผ่านไปในแต่ละยุคสมัย ก็ได้มีปฏิทินจากหลากหลายกลุ่ม หลากหลายรูปแบบ ที่นำมาใช้กันในช่วงสมัยหนึ่ง นั่นจึงเป็นคำถามที่ว่าแล้วของใครเที่ยงตรงและแม่นยำที่สุด คำตอบคือรูปแบบของปฏิทินในปัจจุบันอย่างไรหล่ะครับ เพราะการกำเนิดรูปแบบปฏิทินในแบบที่เราใช้กันในปัจจุบันถูกนำมาปรับปรุงจากรูปแบบดั้งเดิมที่เราใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์เรามักสังเกตธรรมชาติและนำมาต่อยอดประยุกต์ใช้ในสิ่งที่หลากหลาย นั่นคือหนึ่งในลักษณะที่ดีอย่างหนึ่งของมนุษย์นั่นเอง

ปฏิทินในปัจจุบัน

ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำนิยามคำว่าปัจจุบันนี้ก่อนนะครับ เพราะแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาคก็ใช้ปฏิทินในปัจจุบันไม่เหมือนกัน อันเป็นไปตามวัฒนธรรม หลักความเชื่อทางศาสนา และการปกครองของแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาค ดังนั้นในกรณีนี้ผมจะพูดถึงปฏิทินที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนั่นก็คือ ปฏิทินกริกอเรียน(Gregorian Calendar)

ปฏิทินกริกอเรียน(Gregorian Calendar)

สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ปฏิทินกริกอเรียนนี้ถูกสร้างโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 โดยพัฒนาต่อยอดมาจากปฏิทินแบบจูเลียน ซึ่งเป็นการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงแม่นยำขึ้น หลักๆในการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเพื่อความแม่นยำในการระบุวันนั่นก็คือ กฏ 2 ข้อ ได้แก่

  1. ทุกๆ 4 ปีจะเพิ่มวันที่เดือนกุมภาพันธ์ 1 วันทำให้เดือนกุมภาพันธ์ปีนั้นมี 29 วัน และวันทั้งปีเท่ากับ 366 วัน เรียกว่าเป็นปีอธิกสุรทิน(Leap year) แต่มีข้อแม้ว่าปีที่หารด้วย 100 ลงตัว จะต้องไม่เป็นปีอธิกสุรทิน
  2. แต่ถ้าปีนั้นหารด้วย 100 ลงตัวและหารด้วย 400 ลงตัวแสดงว่าปีนั้นเป็นปีอธิกสุรทิน

ข้อกำหนด 2 ข้อนั้น จุดประสงค์คือต้องการทำให้วันที่ 21 มีนาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันอีสเตอร์ ให้ตรงกับการตั้งฉากของดวงอาทิตย์กับเส้นศูนย์สูตรพอดีนั่นเอง

เอาหล่ะครับจบแล้วสำหรับในส่วนของกำเนิดปฏิทิน คราวหน้าเรามาพูดกันถึงในส่วนที่ขาดหายไปจากบทความนี้สองส่วนด้วยกันได้แก่

ปฏิทินจูเลียนที่ทำให้เดือน December ไม่ได้หมายถึงเดือน 10

และ

เรื่องของชื่อเดือนในไทยที่แม้แต่ชาวต่างชาติต้องยกนิ้วให้

รอติดตามกันในบทความต่อไปกันนะครับ

อ้างอิง

ปฏิทิน – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

History of calendars – Wikipedia

Calendar – Wikipedia

MondAro23 : ความรู้ทั่วไป : เรื่องของระบบวันเวลา

ที่มาของชื่อเดือนแต่ละเดือน – GotoKnow

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่

สามารถสนับสนุนเราได้ทางช่องทางต่อไปนี้

Lightning network (Tippin Me)

Lightning network (Alby)

Bitcoin

หรือสนับสนุนผ่านช่องทาง Verified creator เพียงแวะชม หรือให้ทริปเราผ่านเว็บบาวเซอร์ Brave


Exit mobile version