Site icon A Good Many

ทำความรู้จัก Lindy Effect

จะเกิดอะไรขึ้นหากมีบางสิ่งที่อยู่ได้มาอย่างยาวนาน และมันน่าจะอยู่ได้ต่อไปได้อีกในอนาคต นี่คือ คำกล่าวสั้นๆเพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสิ่งๆหนึ่งกับระยะเวลาที่เปลี่ยนไป ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างเช่น รองเท้า ที่มีการค้นพบว่ารองเท้าที่เก่าแก่ที่สุดที่เราค้นพบได้ในปัจจุบันนั้น คือรองเท้าแตะเปลือกต้นเซจบรัช ที่มีอายุตั้งแต่ประมาณ 7,000 หรือ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งพบในถ้ำ Fort Rock ในรัฐโอเรกอนของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1938 และในปัจจุบันเราก็ยังคงใช้รองเท้าอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีรูปแบบและวัสดุที่แตกต่างไปจากรองเท้ายุคแรกๆมากมายก็ตามที และคาดว่าเราคงยังต้องใช้รองเท้าต่อไปอีกนานแสนนานอย่างแน่นอน

รองเท้าหนังจากอาเมเนีย อายุประมาณ 5,500 ปี

แต่หากเราพูดถึงชีวิตเราหล่ะ ผมเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2531 ณ ช่วงเวลาปัจจุบันนี้ผมมีอายุ 35 ปีแล้ว หากเวลาผ่านไปอีกสัก 60 ปี ผมจะมีอายุ 95 ปี คุณคิดว่า ผมจะมีชีวิตอยู่ถึงช่วงเวลาดังกล่าวไหม คำตอบเลยคือ อาจจะมีชีวิตอยู่ต่อก็ได้ แต่หากเวลาผ่านไปสัก 100 ปี หรือ 5,500 ปี อย่างรองเท้าอาเมเนียคู่ด้านบนนั้นหล่ะ คำตอบคือ ผมไม่น่าจะมีชีวิตอยู่อีกแล้วอย่างแน่นอน

ทั้งสองอย่างที่ผมยกตัวอย่างมาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ด้านการคงอยู่กับระยะเวลานั่นคือข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัด นั่นคือ สิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต เป็นวัตถุใดใด สิ่งของ หรือ สิ่งประดิษฐ์ กับอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งมีชีวิต นั่นคือข้อแตกต่างกัน แล้วมันมีสิ่งใดที่ทำให้เกิดความแตกต่างกันหล่ะ นั่นแหละครับ หนุ่มหน้ามนคนชื่อ ทาเลบ จึงมาให้คำตอบเราในย่อหน้าถัดไปเลย

กำเนิดทฤษฎี Lindy Effect

จุดเริ่มต้นของทฤษฎีนี้มาจาก นัสซิม นิโคลาส ทาเลบ (Nassim Nicholas Taleb) นักสถิติชาวเลบานอน-อเมริกัน นั้นมีความสงสัยต่อสิ่งประดิษฐ์ต่างๆในสมัยใหม่ที่บางอย่างมักไม่ได้รับการยอมรับอย่างที่ควร ทำให้สิ่งเหล่านั้นหายไป แต่บางสิ่งบางอย่างที่มันเคยมีมาก่อนหน้านี้กับไม่หายไปไหน มันเพราะอะไร และเกิดจากอะไรกันนะ ด้วยความที่ต้องการหาคำตอบเขาจึงได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอายุขัยของสิ่งต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เทคโนโลยี ภาพยนตร์ งานศิลปะ ระบบแนวคิด ทฤษฏี กฎต่างๆ ประเพณี ต้นไม้ ผัก ผลไม้ หรือแม้กระทั่งชีวิตคน นำมารวบรวมและคำนวณด้วยวิธีทางสถิติ จนได้ข้อสรุปว่า …

“สำหรับสิ่งที่ไม่สามารถเสื่อมสลายได้ ยิ่งอายุขัยของสิ่งนั้นอยู่มานานเท่าใด มีแนวโน้มว่ามันจะอยู่ต่อไปอีกนานเท่านั้น”

Lindy Effect

และนี่คือหน้าตาของผู้ที่ให้กำเนิดและตั้งชื่อให้กับทฤษฎีดังกล่าวว่า Lindy Effect โดยปรากฎครั้งแรกในหนังสือชื่อว่า Antifragile ซึ่งเขาเป็นผู้แต่งเองและพิมพ์ออกมาในปี ค.ศ. 2012 นั่นเอง

Nassim Nicholas Taleb

พูดง่ายๆ ขยายความตามทฤษฎีนี้ หากดูตามแผนกราฟด้านล่างนี้จะได้ว่า หากมีสิ่งๆหนึ่งที่มีระยะเวลาสำหรับใช้ในการพิสูจน์ตัวตนว่ายังคงอยู่มาได้ x ปี ก็มีแนวโน้มว่ามันยังคงสามารถที่จะดำเนินการคงอยู่ของมันเองไปได้ต่ออีก x ปีเช่นกัน

นั่นหมายความมตามแนวคิดของทาเลบว่า การตัดสินว่าสิ่งใดมีความคุ้มค่าหรือไม่ คงจะมีเพียงแค่ “เวลา” เท่านั้น ที่จะสามารถพิสูจน์ได้ว่ามันมีคุณค่า มีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์ต่อการดำรงอยู่ของมันนั่นเอง

https://atlasgeographica.com/lindy-effect-explained/

ลองฟังเค้าอธิบายดู

Lindy Effect มีประโยชน์อย่างไร?

แน่นอนว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เราคิดว่ามันจะมีประโยชน์หรือไม่นั่นก็ต้องก่อให้เกิดผลดีและเป็นประโยชน์ต่อตัวเรา เช่นนั้นเราถึงยอมรับสิ่งนั้นต่อไป เพราะหากมองย้อนกลับไปในช่วงเวลาที่เราต้องการเครื่องมือบางอย่างมาสร้างผลประโยชน์ให้กับตัวเรา เราย่อมต้องเข้าใจถึงความต้องการของเราเองเป็นที่ตั้งอย่างแน่นอน

นอกจากนั้นความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือ คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือผู่ที่มีความรู้ในสิ่งเหล่านั้น ยังส่งผลต่ออิทธิพลในการชี้นำบางสิ่งให้เราต้องการมันขึ้นมาก็ได้ หรือไม่ก็เป็นเพราะข้อกำหนด กฎเกณฑ์ กฎหมาย ที่ถูกบังคับใช้ ให้มีสิ่งใดๆเกิดขึ้น หรือหายไป ก็ย่อมต้องส่งผลถึง การคงอยู่ของสิ่งเหล่านั้นอย่างแน่นอน

ยกตัวอย่างเช่น หากเราเดินด้วยเท้าเปล่าแล้วเจ็บเท้า เราอาจลองมองบางสิ่งรอบๆตัวมาใช้ ในการทำเป็นรองเท้า เช่น เปลือกไม้ พอใช้ไปสักพัก มันเริ่มสึกหรอ เราก็ทำใหม่ขึ้นมา แต่หากว่ามีบางคนมาแนะนำว่า เฮ้!! นายทำไมไม่ใช้ไดเกียวหล่ะ ผ่าม!!! ไม่ใช่!! บอกว่า เฮ้!!! ทำไมนายไม่ลองเปลี่ยนวัสดุเป็นหนังสัตว์หล่ะ มันน่าจะทนทานกว่าเปลือกไม้นะ แน่นอนหากว่าคุณเชื่อคำแนะนำเหล่านั้น และลองเปลี่ยนวัสดุตามที่แนะนำ มันก็จะเกิดเป็นรองเท้าหนังขึ้นมา พอใช้ไป เราหาสิ่งที่ง่ายกว่ามาทำอย่างเช่นผ้า ก็กลายเป็นรองเท้าผ้าที่ใสแล้วสบายกว่ากันเยอะ เบาเท้ากว่า หลังจากนั้นมีบางเมืองที่เค้ามีการนำน้ำมันดิบมาใช้และสร้างผลิตภัณฑ์หนึ่งขึ้นมาเป็นสิ่งที่เรียกว่ายางพีวีซี และมันสามารถนำมาทำเป็นรองเท้าได้ด้วยแหละ มันกันน้ำได้ด้วยนะ ว้าววิเศษจริงๆ ต่อมาเราเริ่มสังเกตุเห็นมีบางกลุ่มที่เค้าเริ่มมีรองเท้าที่ทำมาจากวัสดุโพลิเมอร์น้ำหนักเบา แต่เรายังคงยึดมั่นกับรองเท้าหนังสัตว์คู่โปรดของเราอยู่ การเปลี่ยนไปใช้แบบใหม่นั้นบางทีเราอาจยังไม่พร้อม และรู้สึกไม่คุ้นเคยสักเท่าไร แล้วหลังจากนั้นไม่กี่วันรัฐบาลประกาศออกกฎหมายควบคุมการใช้หนังสัตว์ในการทำรองเท้า ส่งผลให้รองเท้าหนังสัตว์ถูกยกเลิกการผลิตไป แน่นอนว่าคุณต้องเริ่มเปิดใจยอมรับรองเท้าโพลิเมอร์แล้วหล่ะ หรือจะกลับไปสวมรองเท้าแบบเดิมๆต่อไปดี

ภาพโดย Hands off my tags! Michael Gaida จาก Pixabay

แล้วที่พูดมามันเกี่ยวอะไรกับ Lindy Effect ผมก็ขอตอบตรงนี้เลยว่า มันไม่เกี่ยวกันสักนิดเดียวครับ แต่จะว่าไม่เกี่ยวข้องเสียทีเดียวผมก็คิดว่ามันก็ไม่ใช่ เอ๊ะ! ผมกำลังจะบอกว่า ไม่ว่าวันนี้คุณกำลังใช้รองเท้าแบบไหนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเปลือกไม้ หนังสัตว์ ผ้า ยาง หรือโพลิเมอร์ สิ่งที่จะพิสูจน์ได้ว่าสิ่งไหนดีกว่ากันคือ “เวลา” นั่นหมายถึงอีก 10 ปี 100 ปี 1,000 ปี 5,000 ปี หรือ 7,000 ปี รองเท้าอะไรที่ยังคงเหลือรอดให้ใช้ได้ถึงวันนั้นมันคือสิ่งที่ถูกพิสูจน์แล้วว่ามันดีอย่างแน่นอน นั่นจึงเป็นที่มาว่า เราไม่เห็นใครใช้รองเท้าแตะเปลือกต้นเซจบรัชเลยในปัจจุบัน แต่ว่ารองเท้าหนังที่เคยค้นพบว่ามันเก่าแก่ถึง 5,500 ปีกลับยังคงมีใช้วัสดุหนังทำใช้เป็นรองเท้าอยู่ในปัจจุบัน แม้ดีไซน์มันจะดูดีกว่าเดิมโขก็ตามที แต่หากจะบอกว่า แล้วหลังจากนี้หล่ะ รองเท้าชนิดไหนจะคงอยู่ต่อไปในอนาคต

Lindy Effect จะแสดงฤทธิ์เดช ณ บัดนี้ นั่นคือหากเราดูถึงสิ่งที่ผ่านมาอย่างรองเท้าหนัง แม้มันจะมีมานานถึง 5,500 ปีแล้ว ปัจจุบันก็ยังมีรองเท้าหนังใช้กันอยู่และยังคงเป็นที่นิยมไม่เสื่อมคลาย นั่นหมายถึง รองเท้าหนังน่าจะคงอยู่ต่อไปอีก 5,500 ปีเช่นกันตามทฤษฎีของ Lindy Effect แล้วรองเท้าจากวัสดุอื่นๆหล่ะ แน่นอนว่ารองเท้าที่ทำมาจากวัสดุอย่างเทอร์โมพลาสติก อีลาสโตเมอร์ที่เกิดขึ้นมาแค่ไม่กี่ปี หากมันจะคงอยู่ต่อไป เราคงต้องวิ่งไปดูที่อนาคต แล้วใครเล่าที่จะไปดูอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นได้

Lindy Effect จึงกลับมาเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยปลอบประโลมเราถึงในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะ “เวลา” เท่านั้นคือคำตอบ เมื่อยังไม่ถึงเวลา เราจะไปแสวงหาวิมานอะไรหล่ะครับ ฮ่าๆๆ ดังนั้น อยู่กับปัจจุบันให้ดีที่สุด ใช้ ทำ ดำรงชีวิต ให้เหมาะกับเราที่สุด คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตน และส่วนรวมไม่ให้เดือดร้อนตนเอง และผู้อื่น ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งตนเองและผู้อื่น ดังนั้นไม่ว่าอะไร ถ้ามันดีจริง มันก็จะคงอยู่ต่อไปเท่ากับระยะเวลาที่ผ่านมาที่มันยังคงอยู่นั่นแหละ เพราะอย่าลืมว่า เราไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้จากอดีต เพราะบางทีมันอาจเกิด Black Swan  ก็เป็นได้

แล้วติดตามบทความต่อไปของเรา [ Black Swan คืออะไร ทำไมจึงเป็นอนาคตที่กำหนดไม่ได้ ]

อ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/Shoe

https://en.wikipedia.org/wiki/Nassim_Nicholas_Taleb

ภาพปกโดย Sam Williams จาก Pixabay

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่

สามารถสนับสนุนเราได้ทางช่องทางต่อไปนี้

Lightning network (Tippin Me)

Lightning network (Alby)

Bitcoin

หรือสนับสนุนผ่านช่องทาง Verified creator เพียงแวะชม หรือให้ทริปเราผ่านเว็บบาวเซอร์ Brave

Exit mobile version