ฤดูหนาวนิวเคลียร์

หากใครติดตามข่าวช่วงนี้จะต้องมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศรัสเซีย และยูเครนอย่างแน่นอน เพราะตอนนี้มีการใช้กำลังทางทหารเข้าใส่กันอย่างหนักหน่วง หากในช่วงความขัดแย้งรุนแรงจนก่อให้เกิดสงครามที่ต่างฝ่ายต่างต่อสู้กันอย่างดุเดือด จนสุดท้ายมีการนำอาวุธร้ายแรงโจมตีใส่กันอย่าง อาวุธนิวเคลียร์ จะส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อโลกใบนี้อย่างแน่นอน และหนึ่งในนั้นคือ เหตุการณ์ฤดูหนาวนิวเคลียร์นั่นเอง

ฤดูหนาวนิวเคลียร์ คืออะไร

ฤดูหนาวนิวเคลียร์ คือ สภาวะอากาศที่ทำให้เกิดความหนาวเย็นของโลกอย่างรุนแรง ซึ่งมันจะเกิดขึ้นหลังจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์จำนวนมากโจมตีใส่กัน โดยฤดูหนาวนิวเคลียร์นั้นเกิดจากการคาดการณ์ข้างต้นของทีมนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยรัตเกอร์ส และมหาวิทยาลัยโคโลราโด ในสหรัฐอเมริกาที่ได้อธิบายถึงฤดูหนาวนิวเคลียร์หลังจากศึกษาผลของสภาพการณ์ที่มีความเป็นไปได้สูงหลังจากเกิดการระเบิดด้วยอาวุธนิวเคลียร์ โดยใช้ฐานข้อมูลและแบบจำลองคอมพิวเตอร์อันทันสมัยที่สุดในการทำนายเหตุการณ์เหล่านี้ ซึ่งแบบจำลองดังกล่าวมีชื่อว่า Community Earth System Model-Whole Atmosphere Community Climate Model

อย่าลืมว่าอาวุธนิวเคลียร์นอกจากจะส่งผลการทำลายล้างในระดับสูงด้วยแรงระเบิดแล้ว ยังมีกัมมันตรังสีที่แผ่กระจายไปทั่วอากาศ และหมอกควันหนาทึบที่ลอยฟุ้งได้ถึงชั้นบรรยากาศโลก และนี่คือปัจจัยหลักในการส่งผลต่อสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะ ส่งผลให้มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกตามมา

ภาพโดย Pete Linforth จาก Pixabay

ผลกระทบคืออะไร

ทีมวิจัยระบุว่า เมื่อเกิดสงครามนิวเคลียร์ที่สหรัฐฯและรัสเซียต่างใช้อาวุธนิวเคลียร์โจมตีฝ่ายตรงข้ามจนหมดคลังแสงนั่นหมายถึงจำนวนที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ของทั้งสองประเทศที่มีประมาณ 13,100 ลูก นั่นจะทำให้เกิดหมอกควันหนาทึบจำนวนมหาศาล รวมทั้งเถ้าถ่านจากการระเบิดและเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นตามมาอีกประมาณ 150 เมกะตัน โดยหมอกควันเหล่านี้จะก่อตัวสูงเลยขึ้นไปถึงส่วนล่างของบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ ทำให้บดบังแสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ไม่ให้ส่องลงมาถึงพื้นผิวโลกได้ โลกจะต้องมืดมิดครึ้มไปด้วยความอันตรายที่แฝงอยู่ในอากาศ

ภาพโดย Pete Linforth จาก Pixabay

โดยทีมวิจัยได้คำนวณว่า ภายในภายในสัปดาห์แรกที่เกิดการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ใส่กันจนหมดนั้น ท้องฟ้าของซีกโลกเหนือจะถูกปกคลุมไปด้วยหมอกฝุ่นควันทั้งหมด จากนั้นอีก 2 สัปดาห์ต่อมาหมอกควันดังกล่าวจะลามไปยังซีกโลกใต้ ส่งผลให้อุณหภูมิทั่วโลกจะลดลงโดยเฉลี่ย 9 องศาเซลเซียสภายในระยะเวลา 12 เดือนแรก แต่หากพิจารณาเฉพาะฤดูร้อนในซีกโลกเหนือ อุณหภูมิอาจจะลดลงถึงได้ถึง 20 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว รวมไปถึงผลกระทบทางด้านความชื้นในอากาศทั่วโลกจะลดลงทันทีถึง 30% ภายในช่วงไม่กี่เดือนแรก และจะลดต่ำลงอีกเรื่อยๆ ไปอีกยาวนานหลายปี จนสุดท้ายระดับความชื้นที่จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้ฝนตกลงมายังพื้นโลกนั้นลดลงเหลือเพียง 58% และอาจส่งผลให้ไม่เกิดฝนตกในระยะเวลาที่ยาวนานอีกด้วย

แน่นอนว่าหากเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อมอย่างฉับพลันขนาดนี้ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งการดำรงชีวิตตามปกติที่ต้องหลีกเลี่ยงกัมมันตภาพรังสี การหาแหล่งพลังงานให้ความอบอุ่นร่างกาย การหาอากาศบริสุทธิ์หายใจ การหาอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ความแห้งแล้งที่ส่งผลให้นำไปสู่ภาวะขาดแคลนอาหารอย่างยาวนาน เพราะการเกษตรต้องได้รับผลกระทบอย่างมากจากการที่ไม่มีแสงแดดให้พืช ขาดน้ำ เกิดภาวะเป็นพิษต่างๆ แน่นอนว่านอกจากคนจะอยู่ไม่ได้แล้ว สัตว์ต่างๆ รวมไปถึงต้นไม้ก็ย่อมได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน

ระยะเวลาที่ส่งผลกระทบนี้นานเท่าใด

ทีมวิจัยยังระบุว่าจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี กว่าที่แสงอาทิตย์จะกลับมาส่องสว่างบนพื้นโลกได้ในระดับ 40% ของช่วงก่อนเกิดสงคราม นั่นหมายถึงยังไม่ปกติเท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หากยังมีมนุษย์เหลือรอดจนถึงตอนนี้ อาจหาทางในการปลูกพืชที่ต้องการแสงน้อยปรับตัวตามสถานการณ์ไปเพื่อความอยู่รอด และทีมวิจัยยังคาดอีกว่าอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปี กว่าที่หมอกควันหนาทึบจากฤดูหนาวนิวเคลียร์จะสลายตัวไปจนหมดจากโลกใบนี้ จนแสงอาทิตย์กลับมาส่องสว่างดังเดิม ระยะเวลา 10 ปี เป็นเวลาที่ยาวนานมากและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้บางอย่างไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปก็ยากที่จะคาดการณ์ต่อได้

เหตุการณ์ที่คล้ายกัน

อยากจะบอกว่าเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้เคยส่งผลกระทบต่อโลกของเรามาบ้างแล้ว แม้มันอาจไม่ใช่เกิดจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์แต่ก็อยากให้ลองศึกษากันเพราะผลกระทบมันก็ดูคล้ายๆกันบ้าง ได้แก่

  • เหตุการณ์ทิ้งระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศญี่ปุ่น
    แม้จะใช้อาวุธนิวเคลียร์เพียงแค่ 2 ลูกเท่านั้นก็ส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างอย่างใหญ่หลวงตามมาเช่นกัน โดยประมาณว่ามีผู้คนประมาณ 70,000 คน ที่เสียชีวิตอันเป็นผลจากการระเบิดโดยตรง และที่ได้รับบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก ขณะที่ผู้คนอีกจำนวนมากต้องเสียชีวิตในภายหลังจากการะเบิด อันเนื่องมาจากกัมมันตรังสี และมะเร็งอีกมากมาย
ภารกิจหารายชื่อทหารสหรัฐฯ ที่เสียชีวิตจากระเบิดนิวเคลียร์ฮิโรชิมา  ..โดยชาวญี่ปุ่น
ภารกิจหารายชื่อทหารสหรัฐฯ ที่เสียชีวิตจากระเบิดนิวเคลียร์ฮิโรชิมา ..โดยชาวญี่ปุ่น (thematter.co)
  • เหตุการณ์ที่อิรักเผาบ่อน้ำมันที่เมืองคูเวต
    ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นฝีมือของทหารอิรักที่วางเพลิงเผาบ่อน้ำมัน 700 แห่งของคูเวตในตอนที่พวกเขาล่าถอยจากคูเวตในปีพ.ศ. 2534 ประมาณกันว่ามีน้ำมันถูกเผาไป 6 ล้านบาเรล (9.5 แสนลูกบาศก์เมตร) ในแต่ละวัน และการลุกไหม้ดังกล่าวก็กินเวลาไปถึง 10 เดือนซึ่งก่อให้เกิดมลพิษไปทั่วประเทศตามมา
No photo description available.
ภาพจาก Facebook
  • การระเบิดของภูเขาไฟตัมโบรา เกาะซัมบาวา ประเทศอินโดนิเซีย
    ภูเขาไฟลูกนี้เคยระเบิดขึ้นในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2358 มีการประเมินกันว่าการระเบิดของตัมโบราเทียบเท่ากับระเบิดปรมาณู 6,000 ลูก ระเบิดพร้อมกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดเถ้าถ่านฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศเป็นจำนวนมาก คาดการณ์ว่าเสียหายมากในรอบ 500 ปีเป็นระดับ 7 เลยทีเดียว เพราะว่าการประทุครั้งนั้นส่งผลให้เป็นต้นเหตุของปีที่ไร้ฤดูร้อนเพราะผิวโลกได้รับแสงอาทิตย์น้อยลงถึงร้อยละ 20 จนกระทบไกลจนถึงยุโรปตอนเหนือที่มืดมิดยาวนานและกระทบต่อการเติบโตของพืชพรรณต่างๆถึง 2 ปี รวมไปถึงแถบอเมริกาด้วยที่เสียหายจากวิกฤติการเพาะปลูกเช่นกัน นอกจากนี้ยังเกิดความขาดแคลนอาหารของจีนทำให้เกิดคนตายถึงหลายพันคน เกิดคลื่นสึนามิไปทั่วโลก คาดการว่ามีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นั้นถึง 120,000 คน
1815 tambora explosion – การปะทุของเขาตัมโบรา ค.ศ. 1815 – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
  • เหตุการณ์อุกกาบาตยักษ์พุ่งชนโลก
    โดยเกิดขึ้นเมื่อ 66 ล้านปีก่อนโดยเกิดจากการชนของอุกกาบาตยักษ์ชื่อชิกซูลุบ(Chicxulub) ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 15 กิโลเมตร ซึ่งพุ่งมาด้วยความเร็ว 64,370 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยพลังงานที่เกิดขึ้นจากการชนเท่ากับระเบิดปรมาณูที่ทิ้งใส่เมืองฮิโรชิมา 10,000 ล้านลูกเลยหล่ะครับ ในปัจจุบันการศึกษาค้นคว้าพบว่าหลุมอุกกาบาตชิกซูลุบ นั้นมีความกว้าง 200 กิโลเมตร ปัจจุบันจมอยู่ในอ่าวเม็กซิโกครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งถูกกลบฝังอยู่ใต้พื้นดินของคาบสมุทรยูคาตัน และเหตุการณ์ดังกล่าวก็ส่งผลให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปเป็นอย่างมาก รวมไปถึงทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลก 75% ต้องล้มตาย เพราะเมื่ออุกกาบาตยักษ์พุ่งกระทบโลก ส่งผลให้เกิดคลื่นความร้อนกระแทกลงพื้นที่นั้นอย่างมหาศาล ทำให้กำมะถันปริมาณมากจากแหล่งแร่ยิปซัมใต้พื้นที่ระเหยเป็นไอ ฟุ้งกระจายขึ้นไปในบรรยากาศ ส่งผลต่อทำให้เกิดภาวะฤดูหนาวยาวนานมากเป็นผลกระทบไปทั่วโลก
ถ้าอุกกาบาตชนโลกอีกครั้งในเวลานี้โลกจะเป็นอย่างไร - Pantip
ถ้าอุกกาบาตชนโลกอีกครั้งในเวลานี้โลกจะเป็นอย่างไร – Pantip

จะเห็นได้ว่าผลกระทบของการใช้อาวุธร้ายแรงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อทุกสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างใหญ่หลวง แม้จะเป็นประเทศที่ไม่เกี่ยวกับความขัดแย้งใดใด หรือประเทศที่อยู่ห่างไกล ต่างก็ได้รับผลกระทบที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นแล้วมาตรการการลดอาวุธนิวเคลียร์หรือปลดอาวุธนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิงที่บังคับใช้กับทุกฝ่ายย่อมมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะมีการประเมิณกันว่าทั่วโลกมีหัวรบนิวเคลียร์มากถึง 15,700 ลูกเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้างจนอาจประเมิณค่าความเสียหายไม่ได้ จึงต้องมีความร่วมมือจัดการอาวุธนิวเคลียร์อย่างรอบครอบ ไม่เช่นนั้นโลกใบนี้อาจสายไปต่อการดำรงอยู่ก็เป็นได้

ภาพโดย Catalania Catalino จาก Pixabay

อ้างอิง

อาวุธนิวเคลียร์ – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

สงครามอ่าว – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

อาวุธนิวเคลียร์ : ฤดูหนาวนิวเคลียร์รุนแรงแค่ไหน หากมหาอำนาจยิง “นุก” ใส่กัน – BBC News ไทย

ภาพโดย Yuri_B จาก Pixabay

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่

สามารถสนับสนุนเราได้ทางช่องทางต่อไปนี้

Lightning network (Tippin Me)

LN-tippin-me

Lightning network (Alby)

Bitcoin

BitcoinQR

หรือสนับสนุนผ่านช่องทาง Verified creator เพียงแวะชม หรือให้ทริปเราผ่านเว็บบาวเซอร์ Brave


Scroll to Top