BURNOUT SYNDROME ภาวะหมดไฟในการทำงาน

พักหลังๆมานี้เรามักจะได้ยินคำว่า ภาวะ BURNOUT SYNDROME หรือภาวะหมดไฟในการทำงานอยู่บ่อยครั้ง จนอาจกล่าวได้ว่า นี่อาจเป็นสิ่งปกติที่คนวัยทำงานส่วนใหญ่มักประสบพบเจอกัน ซึ่งต่อมาส่งผลให้มีปัญหาการลาออกจากงาน การเกิดปัญหาขาดความต่อเนื่องของระบบงานในบริษัท จนเลยเถิดไปถึงเป็นปัญหาทางโครงสร้างสังคมไปเลย แล้วมันเกิดมาจากสาเหตุอะไร และเป็นแบบไหน ติดตามอ่านต่อไปเลยครับ

BURNOUT SYNDROME ภาวะหมดไฟในการทำงานเป็นแบบไหน?

อาจจะพอสรุปคร่าวๆเกี่ยวกับอาการของ BURNOUT SYNDROME ได้คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดใดใดบางอย่าง แล้วส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ เป็นภาวะที่จะแสดงออกถึงความเบื่อหน่าย เหน็ดเหนื่อย ท้อแท้ หรือ ไม่อยากทำอะไรต่อไป จนบางครั้งก็ทำให้ความมีความรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน ขาดความสุขในการทำงาน หมดแรงจูงใจในการทำงานในการใช้ชีวิต เป็นภาวะที่เกิดความเปราะบางต่อการแสดงออกทางอารมณ์ ส่งผลทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หรือบางรายอาจหนักถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้ากันไปเลยทีเดียว

ภาพโดย andreas160578 จาก Pixabay

สาเหตุของภาวะ BURNOUT SYNDROME มาจากอะไร?

สาเหตุหลักๆของภาวะ BURNOUT SYNDROME นี้คือความเครียดที่กดดันจากการทำงานอย่างต่อเนื่องยาวนาน เหมือนกับติดอยู่ในกับดัก หาทางออกในการทำงานไม่ได้ หรือผูกพันต่อการทำงานมากเกินไปจนบางครั้งจริงจังต่อการทำงานเกินความพอดีจนขาดการดูแลสภาพร่างกายและจิตใจ หรือเสริมการใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ ภาวะเหล่านี้มักเกิดกับคนที่ทำงานที่ต้องใช้ความต่อเนื่องยาวนานในการทำงานแบบเดิมๆซ้ำๆ การทำงานแก้ปัญหาในปริมาณมากๆ ทำงานด้วยความซับซ้อน รวมไปถึงคนที่ทำงานแบบเร่งรีบให้ทันกำหนด จะเกิดภาวะดังกล่าวได้เสมอ อีกส่วนที่เป็นสาเหตุภาวะ BURNOUT SYNDROME ก็คือการคาดหวังกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากไป พอผิดจากความคาดหวังที่มุ่งหมายไว้ก็เกิดอาการเหล่านี้ได้

การป้องกัน หรือบรรเทาอาการจากภาวะหมดไฟในการทำงาน

จากสาเหตุหลักๆคือเกิดจากตัวเราเองที่ทำสิ่งใดใดแล้วส่งผลกระทบต่อมาถึงจิตใจเรา ส่งผลต่ออารมณ์เรา ดังนั้นการแก้ปัญหาให้ตรงจุดที่สุดคือแก้ไขที่ตัวเราโดยเริ่มต้นจากการใช้ชีวิตประจำวันของเราง่ายๆ เช่น

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ แน่นอนว่าเป็นอย่างแรกที่เราทำได้ เพราะร่างกายเราต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายปรับเข้าสู่สมดุล มีการซ่อมแซมส่วนสึกหรอต่างๆในร่างกายด้วยวิธีธรรมชาติของมนุษย์เราเอง
  2. กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำเยอะๆ
  3. วางงานลงบ้าง หากิจกรรมอื่นๆทำเพื่อผ่อนคลายไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง หรือร่วมกลุ่มกับเพื่อนๆทำกิจกรรมร่วมกัน
  4. เพิ่มการมีส่วนร่วมในสังคม อย่างหนึ่งที่เรามักมองข้ามไปคือคนที่อยู่รอบๆตัวเราที่มักจะเป็นผู้รักษาชั้นดีเลยหล่ะ การเข้าสังคมและเป็นการเข้าสังคมที่เรามีส่วนช่วยให้เกิดสิ่งดีๆ หรือการพัฒนาไปในทางที่ดีก็จะทำให้เรารู้สึกภูมิใจที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งดีๆเหล่านั้นก็จะลดโอกาสภาวะอารมณ์เสื่อมถอยลงได้
  5. นอกจากนี้การปรับทัศนคติต่อการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวันของเราก็มีส่วนช่วยอย่างมาก เพราะจะทำให้เราอยู่ร่วม หรือปรับตัวไปกับภาวะที่ไม่ปกติอันจะส่งผลเสียตามมาได้
ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay

จะเห็นได้ว่าหากเริ่มมีอาการเบื่องาน หมดแรงจูงใจ ไม่อยากหยิบจับอะไรไปเฉยๆ มันยังพอมีทางออกให้เราจัดการเสียแต่เนิ่นๆหากแต่เมื่อใดที่รู้สึกอึดอัด หดหู่ เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว หรือ รู้สึกทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิต ยิ่งหากมีความคิดที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่ และมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆแบบนี้คิดว่าไม่น่าจะใช่ภาวะ BURNOUT SYNDROME แล้ว อาจจะเป็นภาวะซึมเศร้าที่อันตรายและรุนแรงกว่านี้มาก ควรจะไปพบจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการโดยเร็วเลยนะครับ เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้องและสุดท้ายขอให้ทุกๆท่านมีความสุขกับการใช้ชีวิตตลอดไปนะครับ

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่

สามารถสนับสนุนเราได้ทางช่องทางต่อไปนี้

Lightning network (Tippin Me)

LN-tippin-me

Lightning network (Alby)

Bitcoin

BitcoinQR

หรือสนับสนุนผ่านช่องทาง Verified creator เพียงแวะชม หรือให้ทริปเราผ่านเว็บบาวเซอร์ Brave


Scroll to Top