กำเนิดชื่อเดือนในปฏิทินไทย

เรื่องของชื่อเดือนในไทยที่แม้แต่ชาวต่างชาติต้องยกนิ้วให้

เคยสังเกตกันบ้างไหมครับว่าเรามีชื่อเรียกเดือนต่างๆ ทั้ง 12 เดือน ที่มีคำลงท้ายทั้ง “คม” “ยน” และหนึ่งเดียวอย่างเดือนกุมภาพันธ์ ที่ลงท้ายด้วยคำว่า “พันธ์” นั้นมันช่วยให้แตกต่างจากชื่อเดือนของต่างชาติอย่างไรบ้าง แน่นอนว่าคำตอบมันอยู่ที่ จำนวนวันนั่นเอง นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่หลายๆชาติ ต่างให้ความสนใจหากได้รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่านี้แล้ว คนไทยสามารถบอกได้ทันทีว่าเดือนไหนมีจำนวนวันเท่าไร ด้วยคำท้ายของชื่อเดือน ไม่ต้องจำว่าเดือนไหน มีกี่วันอย่างชาติอื่นๆเขา

ความเกี่ยวข้องกับโหราศาสตร์

ภาพโดย Gordon Johnson จาก Pixabay

การใช้งานวัน เวลา ในสมัยก่อนหน้านี้นั้น นอกจากจะใช้เป็นตัวกำหนดการ นัดหมาย หรือบ่งบอกเหตุการณ์ต่างๆแล้ว ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่อาจแยกได้จากการใช้ศาสตร์ทางตัวเลขในการคำนวณ หรือเรียกง่ายๆว่าการ ดูดวง นั่นเอง หลักการทางโหราศาสตร์ หรือการดูดวง จับยาม นั้นมักทำงานโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างการกำหนดวัน เวลา ฤกษ์ยาม กับเหตุการณ์ต่างๆที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการบอกวันเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน ประกอบการทางด้านศาสนา ความเชื่อต่างๆ ถูกหล่อหลอมมาด้วยความเชื่อด้านภูติผี ก่อนจะพัฒนามาเป็นศาสนาที่ตั้งอยู่บนเรื่องเหนือธรรมชาติ นั่นจึงทำให้การทางด้านโหราศาสตร์ในช่วงก่อนหน้านั้นมีอิทธิพลต่อการประดิษฐ์ปฏิทินจันทรคติในเวลาต่อมานั่นเอง

กำเนิดประติทินก่อนเป็นปฏิทิน

การกำเนิดปฏิทินดังที่กล่าวมาในบทความที่แล้วมานั้น (กำเนิดปฏิทิน ใครสร้างปฏิทินขึ้นมาคนแรก?) เป็นเรื่องของปฏิทินสากล หรือระบบวันเวลาโลกนั่นเอง แต่ต่อจากนี้คือเรื่องของระบบวันเวลาในประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้นั้นเราได้ใช้ระบบวันเวลาแบบทางโหราศาสตร์ ที่เรียกว่าปฏิทินแบบจันทรคติดังที่กล่าวมานั่นเอง

ในยุคต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศให้ใช้ปฏิทินแบบใหม่แทนแบบเดิมที่เป็นจันทรคติ เรียกว่าแบบสุริยคติ เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้งานให้เป็นสากลอย่างนานาอารยะประเทศนั่นเอง ได้มี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 4)กับ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ในรัชกาลที่ 4) ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติ เรียกว่า เทวะประติทิน โดยมีการกำหนดชื่อเดือนขึ้นมาใหม่ จากเดิมที่ใช้ เดือนอ้าย เดือนยี่ ถึงเดือนสิบสอง เป็นชื่อเดือนแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และได้มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่พ.ศ. 2432 ซึ่งการที่พระองค์นั้นสามารถคิดค้นรูปแบบปฏิทินแบบใหม่ขึ้นมานั้น ด้วยการที่พระองค์นั้นมีความเชี่ยวชาญทางด้านโหราศาสตร์มาแต่เดิมประกอบกับการที่ได้มีโอกาสไปศึกษาต่างประเทศจนได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขา อีกทั้งยังสนใจในรูปแบบระบบวันเวลาของปฏิทินแบบสุริยคติของทางตะวันตกมาแต่เดิมนั่นเอง

Prince Devan Uthayavongse.jpg
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

ชื่อเดือนที่มาจากจักรราศี

ชื่อเดือนที่ใช้ในปัจจุบันนั้น มีที่มาจากการตั้งชื่อตามจักรราศี หรือคือรูปแบบการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปี อันประกอบไปด้วย 12 ราศี นำมา สมาส รวมกับคำท้าย ด้วยความชาญฉลาดที่พระองค์ทรงสามารถใส่คำลงท้ายเพื่อระบุจำนวนวันในแต่ละเดือนไปด้วยนั่นเอง ได้แก่คำว่า อาคม อาพนธ อายน ซึ่ง อาคม อายน หมายถึง การมาถึง เหมือนกันทั้งสองคำ ส่วน อาพนธ หมายถึง การผูก แต่ให้กำหนดความพิเศษลงไปยังเดือนที่มีคำที่ลงท้ายด้วย คม มีจำนวนวัน 31 วัน และคำว่า ยน มีจำนวนวัน 30 วัน จึงเกิดเป็นชื่อเดือนใหม่ดังนี้เมื่อเทียบกับชื่อเดือนแบบดั้งเดิมดังต่อไปนี้

ชื่อเดือนดั้งเดิม
(จันทรคติ)
จักรราศี + คำท้าย
(หมายถึงการมาถึงของราศีนั้นๆ)
ชื่อเดือนใหม่
(สุริยคติไทย)
ชื่อเดือน
อังกฤษ
จำนวนวัน
อ้ายธนู + อาคมธันวาคมDecember31
ยี่มกร + อาคมมกราคมJanuary30
สามกุมภ์ + อาพนธกุมภาพันธ์February28 / 29
สี่มีน + อาคมมีนาคมMarch31
ห้าเมษ + อายนเมษายนApril30
หกพฤษภ + อาคมพฤษภาคมMay31
เจ็ดมิถุน + อายนมิถุนายนJune30
แปดกรกฎ + อาคมกรกฎาคมJuly31
เก้าสิงห + อาคมสิงหาคมAugust31
สิบกันย + อายนกันยายนSeptember30
สิบเอ็ดตุล + อาคมตุลาคมOctober31
สิบสองพฤศจิก + อายนพฤศจิกายนNovember30

จากตารางข้างบนหากเราดูดีๆ จะเห็นได้ว่าชื่อเดือนของเรานั้นนอกจากจะสามารถบ่งบอกได้ว่ากำลังเข้าสู่ราศีอะไรแล้ว ยังสามารถบอกได้เลยว่าในเดือนนั้นมันมีจำนวนวันทั้งหมดกี่วัน อันจะแตกต่างจากชื่อเดือนในภาษาอังกฤษที่ขนาดเดือน December ที่แปลว่าเดือนสิบ จะเป็นเดือนสิงสองแล้ว ยังไม่สามารถบอกอะไรได้อีกเลย พูดง่ายๆคือ ไม่มีความหมายในตัว อย่างชื่อเดือนของไทยนั่นเอง

ภาพจักรราศีโดย Gordon Johnson จาก Pixabay

ปฏิทินปัจจุบัน

หากสังเกตความเปลี่ยนแปลงในเรื่องปฏิทินตั้งแต่ใช้แบบใหม่มานั้น จะมีแค่เพียงจากเดิมในวันขึ้นปีใหม่เท่านั้นที่เราเปลี่ยนแปลง โดยจากของเดิมตามคติพราหมณ์ที่นับวันตามปฏิทินแบบจันทรคติคือ วันที่ตรงกับ 1 ค่ำเดือนห้า หรือวันสงกรานต์ ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงเป็นวันที่ 1 เดือนห้า(เดือนเมษายน) ของทุกปีแทน หลังจากนั้นก็เปลี่ยนมาตรงกับวันที่ 1 เดือนมกราคมของทุกปีตามแบบอย่างสากลแทน ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นต้นมา รวมทั้งมีการใช้คำว่า ปฏิทิน แทนคำว่า ประติทินเดิมด้วยนั่นเอง

จะเห็นได้ว่าปฏิทินที่เราใช้ในปัจจุบันนี้เป็นรูปแบบที่สากลมาก เข้าใจง่าย มีความหมายในตัว นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราควรภาคภูมิใจในชื่อเดือนของไทยเราที่ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร

อ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

https://en.wikipedia.org/wiki/46_BC

https://www.rmg.co.uk/stories/topics/why-12-months-year-seven-days-week-or-60-minutes-hour

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่

สามารถสนับสนุนเราได้ทางช่องทางต่อไปนี้

Lightning network (Tippin Me)

LN-tippin-me

Lightning network (Alby)

Bitcoin

BitcoinQR

หรือสนับสนุนผ่านช่องทาง Verified creator เพียงแวะชม หรือให้ทริปเราผ่านเว็บบาวเซอร์ Brave

<span class="tadv-color" style="color:#ffffff"><strong>Mr.Good (Admin)</strong></span>
Mr.Good (Admin)

นักนิยมศึกษาธรรมชาติ ออกเยื้องยาตรลุไปในไพรสณฑ์
ล่องเหนือจรดใต้ตามกมล
เฉกเช่นคนรักษ์ป่าน่าดูจริง


Scroll to Top