Synonym ผู้ที่มอง Bitcoin เป็นพื้นฐานของทุกอย่างในชีวิต

สวัสดีครับวันนี้ A Good Many จะมาพาทุกท่านดำดิ่งไปกับแนวคิดที่มหัศจรรย์ของ Synonym ซึ่งคำว่า Synonym ในภาษาอังกฤษนั้นแปลได้ประมาณว่า คำพ้อง หรือคำที่เขียนต่างกัน แต่มีความหมายเหมือนกัน แต่ Synonym ในที่นี้มันคือคำพ้องที่ไม่ใช่คำพ้องแบบ Synonymous เอ๊ะยังไงกัน!! 555

อย่าเพิ่งงงครับ ล้อเล่นเฉยๆ วันนี้เราจะมาพูดถึงบริษัท Synonym ซึ่งมี CEO คือนาย John Carvalho ซึ่งเป็นอดีตนักพัฒนาและแนวร่วมคนสำคัญของบริษัท Bitrefill บริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับระบบ Lightning Network บน Bitcoin โดยเป็นบริษัทที่ให้บริการการใช้ Bitcoin ในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการอื่นๆแบบ peer-to-peer เช่น บัตรของขวัญ เติมเงินโทรศัพท์ และบริการต่างๆบนเครือข่าย Lightning ที่ปกติจะต้องใช้เงินจริงๆซื้อเท่านั้นนั่นเอง

Welcome to the Atomic Economy

Synonym

เอาหล่ะกลับมาที่ Synonym ของเรากัน แนวคิดของการก่อตั้งบริษัท Synonym คือการต่อยอดจากเดิมที่เฮียแกนั่งทำงานอยู่ใน Bitrefill นั่นแหละ มันก็เอา Bitcoin มาซื้อของนู่นนี่นั่นได้ใช่ไหม แล้วก็คิดต่อว่า เอ . . . จากซื้อของเราเอามาทำอะไรอย่างอื่นได้อีกหรือป่าวนะ อย่างเช่น การเอาเซอร์วิสบางอย่าง หรือพัฒนาโปรแกรมเพิ่มอีกเลเยอร์ในระบบ Bitcoin network มาสร้างทำเป็นการยืนยันตัวตนแล้วใช้งานในเว็บไซต์ต่างๆ เปรี้ยง!!!! พลันสายฟ้าก็ฟาดลงมาอย่างจังที่ริมหน้าต่างห้องทำงานของเขา (อันนี้เติมเองเพื่อความตื่นเต้น) จริงๆแล้วปัญหาของการใช้ Bitcoin ที่สำคัญคือมันไม่มีตัวกลาง ด้วยความที่มันไม่มีตัวกลางทำให้การออกแบบระบบอะไรต่างๆก็จะต่างคนต่างทำ Dev ทีมนู้นทำอย่างนั้น Dev ทีมนี้ทำอย่างนี้ สับสนปนเปกันไปหมด แต่การที่เราจะออกแบบระบบอะไรแล้วให้ใครทำตามเราทั้งหมดมันก็จะกลายเป็นการชี้นำหรือมีอิทธิพลต่อวงการ Bitcoin และกลายเป็นตัวกลางเสียเองอีก ดังนั้นนี่จึงเป็นความท้าทายในการออกแบบ ecosystem ใหม่แทนระบบเดิมที่มีตัวกลางเป็นคนกำหนด ด้วยการทำเป็น protocol และเปิดเป็น opensource ให้นักพัฒนาต่างๆมาร่วมกันพัฒนา ตรวจสอบ แนะนำ และเอาไปใช้งานต่อยอดจากเดิมด้วยความที่เข้ากันได้กับทุกระบบ ให้เกิดการใช้งานที่ต่อเนื่อง แก้ปัญหาต่างๆจากระบบเดิมได้ โปรเจคนี้สร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้งาน Bitcoin ให้มีศักยภาพมากกว่าเดิม จากเดิมที่เราคิดว่า Lightning network มันคือความหวังของหมู่บ้านแล้ว เป็นการ Scaling การใช้งานที่ดีแล้ว พี่แกบอกว่า เดี๋ยวก่อน มันยังมีอีก ป๊าดดดด!!! นั่นแหละครับ หลังจากนั้นก็เกิดเป็นบริษัท Synonym ดังที่เห็น กับสโลแกนที่ว่า “Welcome to the Atomic Economy” แปลเป็นไทยคือ “ยินดีต้อนรับเข้าสู่ระบบเศรษฐศาสตร์ทางอะตอม” หรือถ้าแปลแบบลิเกขยายความเข้าไปนั่นคือ “ยินดีต้อนรับเข้าสู่การใช้งาน Bitcoin อย่างรู้คุณค่า เพื่อให้เกิดการใช้งาน Bitcoin อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและก่อให้เกิดคุณค่าสูงสุดต่อระบบ

synonym logo

เอาหล่ะ โลโก้โคตรเท่เลย โคตร synonym เลย 555 ก่อนจะอวยพี่เค้าไปมากกว่านี้ เราไปดูดีกว่าว่าเค้ามีบริการอะไรบ้างที่จะทำเป็น protocol ให้เรามาใช้กัน

Slashtags : The real Decentralized on Web3

Slashtags logo

เปิดตัวมาอย่างอลังการกับ protocol แรกที่ชื่อ Slashtags ใช่แล้วครับ Slash = / คือเครื่องหมายที่เราเอาไว้ใช้กันอย่างสากลเพื่อทำการ คั่น หรือ แยก อะไรบางอย่างระหว่างกัน แนวคิดของ Slashtags คือการใช้ความสามารถในการ Scaling ตามแบบของ Lightning network ที่สามารถเปิดช่องกับใครที่ไหนอย่างไรก็ได้ แต่พอมาทำในรูปแบบบนเว็บนั่นหมายถึงเราสามารถจัดการกับเว็บแบบไหนอย่างไรก็ได้ โดยที่ไม่ยึดติดกับเครือข่ายใดๆ ไม่จำเป็นต้องใช้ blockchain อีกด้วย หลักการในการทำงานของ Slashtags คือการที่เราถือ public key ส่วนตัวของเราโดยที่เราสามารถที่จะนำไปผูกกับบัญชีของเราที่ไหนอย่างไรก็ได้ สามารถแยก public key ไปได้หลายอัน บริหารจัดการเองได้ เหมือนเรามีบัญชีแอคเคาท์เก็บอยู่กับเราเอง ไม่เกี่ยวอะไรกับผู้ให้บริการ อำนาจก็อยู่ที่เรา จะเข้าจะออกตอนไหนเมื่อไหร่ก็ได้ ความเป็นส่วนตัวก็ถูกจัดการด้วยตัวเราเอง แล้วผู้ให้บริการจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเราจริงๆ ก็ในเมื่อเรามี public key ไปแสดงให้ผู้ให้บริการดูได้ งั้นเราก็ต้องมี private key ด้วยเช่นกัน ซึ่ง private key นี่แหละที่เรานำไปใช้ยืนยันตัวตนเพื่อตรวจสอบว่าเราคือเจ้าของบัญชีที่ใช้งานจริงๆ และใช่ครับแนวคิดนี้คือ Web3 นั่นเอง รูปแบบคล้ายๆกันที่มันถูกนำไปใช้แล้วกับกระเป๋าเงินอย่าง Metamask อะไรแบบนั้นแหละ คือตัวกุญแจอยู่กับเราเราจะมอบสิทธิ์ให้ใครเมื่อไรก็ได้ จัดการได้เอง เพียงแต่ Slashtags นี่คือ Decentralized ของจริงแท้ๆ เพราะมันคือ protocol ที่สร้างเป็นเหมือน Layer 3 บน ฺBitcoin network อีกทีนึง มันจะไม่ Decentralized ได้ไง 555

Stop arguing over specs and just use slashtags

SlashPay : A Payment negotiation for all Bitcoin payment methods

คุณเคยประสบปัญหาแบบนี้ไหมครับ Bitcoin address ของคุณขึ้นต้นด้วย 1. . . และต้องการโอนไปจ่ายค่าผักชี 3 กำให้กับแม่ค้าที่ใช้ Bitcoin address ที่ขึ้นต้นด้วย bc1p. . . แม๊ แม่ค้าใช้ Taproot มันทำไม่ได้ตรงๆไง protocol มันมองไม่เห็นกัน มันอาจเกิดอุบัติเหตุระหว่างทางก็เป็นได้ ดังนั้นการแก้ไขที่ทำมาหลังจากนั้นก็เลยเป็น ไปใช้ Lightning network สิ เพราะมันเร็ว ค่าโอนถูก(หรืออาจฟรี) แต่มันจะได้จริงๆในทุกกรณีหรอ เราไม่ได้พูดถึงรูปแบบการจ่ายเงินที่ Lightning มันตอบโจทย์การใช้งานประเภทนี้อยู่แล้ว แต่เรากำลังพูดถึงมาตรฐาน Lightning network จะเกิดอะไรขึ้นหากเราใช้ตามมาตรฐาน BOLT12 เพราะบริการเราอยู่บน Blockstream แต่แม่ค้าที่ขายผักชีใช้ผ่านมาตรฐาน AMP ของ Lightning Labs แม๊ แม่ค้าคุณมึงอัพเดตมากครับ 555

ปัญหาคือรูปแบบการจ่ายเงินมันยังเป็นรูปแบบของใครของมันอยู่แม้จะใช้ Lightning network ก็ตามที ดังนั้นการที่เรามี protocol มาจัดการตรงนี้ให้มันสะดวกกว่าเดิมจึงเป็นที่มาของ SlashPay ครับ กว่าจะเข้าเรื่อง แม๊!! เอาหล่ะ SlashPay เป็นการต่อยอดจากการใช้ Slashtags นั่นเอง บ้า!! คนบ้าอะไรใช้บริการ protocol ของตัวเองมาทำ อิอิ ก็นั่นแหละ SlashPay เป็นตัวอย่างของการต่อยอด Slashtags มาใช้ ลองทำให้ดูเซิร์ฟๆ ว่ามันต่อยอดมาทำแบบนี้ได้นะ SlashPay จะอาศัยกระบวนการของ Slashtags ในการติดต่อสื่อสารและรับรองความถูกต้องโดยใช้คีย์กุญแจนอกที่จะชี้ไปยังข้อมูลสาธารณะบน Hypercore อีกที เพื่อทำการดูรูปแบบที่สนับสนุนของคู่สัญญา จากนั้นก็ระบุข้อมูลที่สำคัญในการจ่ายเงินนั้นไม่ว่าจะเป็น รูปแบบมาตรฐานการจ่ายเงินที่ใช้ ยอดเงิน ข้อความ ใบเสร็จ หรืออะไรก็ตามที่รองรับสนับสนุนการจ่ายเงินในชุดนั้นๆ จากน้ันก็บู๊มกลายเป็นจ่ายเงินกันสำเร็จ ตรวจสอบความถูกต้อง unlock script อิอิ คราวนี้เราก็จะสามารถซื้อผักชีผ่าน Lightning network ให้กับแม่ค้าที่แม่งโคตรอัพเดต payment method ของตัวเองเลย แกจะทำ smart contact หรอใช้ taproot เนี่ย

เนี่ยความที่เป็น Payment มันต้องแบบนี้ ต้องรองรับได้หลากหลายรูปแบบทำงานไปมาหาสู่กันได้ โดยที่ไม่ต้องเชื่อใจกัน ตรวจสอบได้ และถูกต้อง

** เห็นมีว่าจะอัพเดตการใช้งานโดยที่มีมูลค่าการแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลต่างๆด้วย เพื่อความสะดวกในการใช้งาน แต่ก็ต้องอาศัยการเชื่อมโยงข้อมูลจากภายนอกสักเล็กน้อยซึ่งต้องอาศัยเซิร์ฟเวอร์ตัวกลางที่เชื่อใจได้ อันนี้ต้องยอมว่าเราต้องเชื่อใจ Exchange ในการขอข้อมูลอัตราการแลกเปลี่ยนจริงๆ

Omni Layer : Bitcoin 2.0 and top of the Bitcoin blockchain

Omni · GitHub

Bitcoin จะไม่เป็นอย่างทุกวันนี้ถ้าไม่เกิด Omni layer ขึ้นมา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เรียกได้ว่าเกิดการพัฒนาบน Bitcoin network อย่างแท้จริง เพราะมันเป็นการเริ่มใช้งาน Bitcoin ที่ต่างไปจากเดิม

Omni layer เป็นโปรโตคอลแบบ opensource ที่สร้างขึ้นเป็นเลเยอร์เหนือ Bitcoin blockchain ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนหรือดำเนินธุรกรรมโดยการใช้สินทรัพย์อื่นๆแทน Bitcoin หมายถึงกระบวนการใช้ Bitcoin ซึ่งแต่เดิมเราจะส่งตรงๆไปหาซึ่งกันและกันเลยโดยตรงเหมือนการโอนเงินให้กันว่าง่ายๆ แต่ Omni layer เปลี่ยนกระบวนการนี้ใหม่ และทดแทนด้วยสัญญาที่ระบุใน blockchain แทน วิธีการคือ ส่ง Bitcoin บางส่วนไปทำหน้าที่ในการเป็นตัวล็อคสัญญาธุรกรรมใดใดก็ตามที่สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการบันทึกธุรกรรมดังกล่าวลงบน blockchain ถือเป็นการลดการพึ่งพา Bitcoin โดยตรงและสร้างระบบนิเวศใหม่ขึ้นมา ดังนั้นหมายความว่าเราสามารถที่จะออกเหรียญใหม่ สินทรัพย์ทดแทนใหม่ๆได้บน Bitcoin network ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่หลากหลายขึ้นมากกว่าการส่ง Bitcoin ไปมาอย่างเดียว เห็นได้ชัดว่านี่คือระบบเบื้องหลังของเหรียญดังอย่าง Tether (USDT) นั่นเองครับ

แต่เรื่องที่พูดมานี้ Synonym ไม่ได้ทำเองนะครับ เพียงแต่ผมกำลังปูทางเนื้อเรื่องให้เข้าใจ เพื่อที่จะดำเนินเรื่องเข้าไปสู่ย่อหน้าต่อไปที่เป็นการพัฒนาของ Synonym เอง อิอิ

OmniBOLT

OmniBOLT – OmniLAB

แน่นอนว่านี่คือการพัฒนาของ Synonym ที่ต้องการให้การใช้งาน Omni layer มันง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รองรับการทำงานที่ซับซ้อน และหลากหลายขึ้น แต่ก็ต้องหมายถึง ใช้ง่ายขึ้นด้วย OmniBOLT ก็เป็นแนวคิด protocol ที่ถูกสร้างมาเพื่อทะลายข้อจำกัดต่างๆของผู้ใช้งาน และเสริมสร้างการทำงานที่ดีบน Bitcoin และที่สำคัญมันเกิดบน Lightning network มันจึงเร็ว ง่าย และถูก แน่นอน ระบบเศรษฐกิจในมิติใหม่ๆจะเกิดขึ้นง่าย การหมุนเวียนเหรียญต่างๆก็จะเกิดประสิทธิภาพขึ้น เช่น หากแม่ค้าขายผักชี(เจ๊คนเดิม) อยากจะออกเหรียญ ผักชีคอยน์ เพื่อใช้ในการซื้อขายผักชีล่วงหน้า แทนที่แกจะมานั่งงมเขียนโค้ดเอง หรือจ้างบริษัทชื่อดังที่เชี่ยวชาญการทำงานบน blockchain ให้เสียตังจ้างเพิ่ม แกก็แค่ “กด จ่าย จบ” อยากออกแบบให้ระบบเราเป็นอย่างไรก็จิ้มๆไป แล้วล็อค Bitcoin บางส่วนเราไว้ใน Lightning wallet จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายการตลาด รอให้ลูกค้าเข้ามาจิ้มๆ จ่ายๆ เจ๊เองก็รู้ล่วงหน้าแล้วว่า ฤดูกาลหน้าจะต้องปลูกผักชีกี่ไร่กี่งาน เพื่อรองรับปริมาณการสั่งซื้อให้เพียงพอต่อสัญญาที่จองโดยการใช้ ผักชีคอยน์ ของเรา นอกจากนี้ถ้าเจ๊ไม่มีทุนพอ เจ๊ะก็เอา ผักชีคอยน์ที่มีคนสั่งผักชีในสัญญาฉบับนี้นี้ไปขอกู้กับสถาบันทางการเงินต่างๆ เจ้าหนี้ที่รู้จัก หรือจากพ่อค้าขายปลาหมึกแผงข้างๆผ่าน Liquid network ได้อีก หรืออาจเอาไประดมทุนผ่าน DAO ก็ไม่เลว เห็นไหม หาเงินง่ายๆ ควบคุมตลาดง่ายๆ กำหนดราคาเองได้ รู้ต้นทุนก่อนจะลงมือปลูก ก็รู้กำไรก่อนขายแล้ว บ๊ะ เจ๊ผักชีนี่เอาเรื่อง แต่หากผมเป็นลูกค้าที่ถือเหรียญ Litecoin(LTC) หล่ะ ผมก็ให้เจ๊แกใช้ Atomic swap ไงครับ ไม่ยาก ข้าม chain กันเลยทีเดียว

นอกจากระบบการเงินดังกล่าวแล้ว OmniBOLT ยังส่งเสริมการทำงานด้านอื่นๆอีกเหมือนอย่างเช่น Omni อื่นๆที่ทำได้เช่น ทำธุรกรรมกู้ จำนอง ค้ำประกัน ลงทุนต่างๆ ทำ NFT, GameFi โอ๊ยสารพัดที่จะทำ วางบิลรับสินค้า ขอลูกสาวพ่อตายังได้เลย สินสอดไม่ต้องวางเป็นเงินเป็นทอง พ่อขอ private key พอ 555

Hypercore : P2P Data sharing

นึกถึงรูปแบบการไม่มีตัวกลางของ Hypercore นึกถึง BitTorrent หรือรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่คล้ายๆกันอย่างบริการ Cloud storage ของ Storj นี่มันคือการพลิกโฉมวงการการเก็บข้อมูลที่ลืม Data center ขนาดมหึมาที่อยู่ในห้องแอร์เย็นๆไปได้เลย ในเมื่อ คุณก็เป็นได้นะ Data center หน่ะ 555 แนวคิดของ Hypercore เป็นการจัดการกับข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ไม่มีตัวกลาง ไม่มีความเชื่อใจซึ่งกันและกัน แต่ปลอดภัย นั่นก็เพราะเป็นระบบที่วิ่งอยู่บน Bitcoin network (อีกแล้ว) แน่นอนว่ามัน Decentralized 100% การที่เราจะบอกว่าเอาข้อมูลไปใส่ไว้ที่ไหนสักที่แล้วล็อกมันด้วยคีย์กุญแจก็ยังพอเข้าใจอยู่แต่การพัฒนาให้ถึงขั้นเป็นส่วนเก็บข้อมูลใหญ่ๆได้นี่ คงต้องพัฒนากันอีกเยอะเพราะมันจะหมายถึงข้อมูลปริมาณมหาศาลที่จะวิ่งไปทั่วเน็ตเวิร์ค ไหนจะการจัดเรียง สืบค้นข้อมูล ไหนจะเป็นการดาวโหลด อัพโหลด ส่วนนี้ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดมามากนะ เดี๋ยวยังไงจะลองติดตามต่อไปนะครับเพราะว่ามันน่าสนใจมากเลยตัวนี้

นายเองก็เป็นได้นะ อิอิ

Blocktank

Blocktank logo

จริงๆถ้าจะเรียกชื่อเต็มของเจ้านี่ต้องเรียกว่า Blocktank LSP ซึ่ง LSP ย่อมาจาก Lightning Service Provider คือผู้ให้บริการ Lightning นั่นเอง แล้วให้บริการอะไร?

อารมณ์ประมาณผู้ให้บริการทุกอย่างเลยเกี่ยวกับ Lightning บน Bitcoin นั่นแหละ คือเป็นบริการสำหรับหารายได้ของบริษัทเอง ไม่งั้นเดี๋ยวไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนพนักงาน 555 อันนี้ก็คือเป็นบริการสำหรับลูกค้าของบริษัทโดยเฉพาะให้คำปรึกษาพัฒนาทางด้านธุรกิจ การใช้งานออกแบบระบบ แอพลิเคชัน การเชื่อมต่อ การทำธุรกรรมต่างๆบน Lightning เลย ขนาดที่เคลมว่าไม่มี node เองก็มาเหอะเดี๋ยวป๋าจัดให้ 555

จะเห็นได้ว่าแนวคิดการพัฒนาของ Synonym นั้นไม่ได้หมายถึงการใช้เทคโนโลยีของ Bitcoin network ในการเป็นเงินเพียงอย่างเดียว ไม่ได้มองแค่มันทำงานบน blockchain ที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ได้มองถึงว่าใช้การเข้ารหัสแบบไหนมั่นคงอย่างไร วิธี proof-of-work เป็นอย่างไรมันป้องกันให้ระบบแข็งแกร่งแค่ไหน หรือการกระจายศูนย์จะเชื่อมต่อกันด้วยวิธีใดได้อีกบ้าง แต่เค้ามองถึงทุกๆกิจกรรมบนอินเตอร์เน็ต ไม่สิ เรียกได้ว่า ทุกๆกิจกรรมของมนุษย์โดยเฉพาะการสื่อสาร การแลกเปลี่ยน การปกป้องความเป็นส่วนตัว พร้อมๆไปกับการมีอิสรภาพในการจัดการกับทุกๆกิจกรรมของเราเองได้ มันน่าติดตามมาก สมกับสโลแกนของเค้าเลยว่า “Welcome to the Atomic Economy” เพราะการใช้งาน Bitcoin อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าสิ่งที่มันเป็น มันทำให้ Bitcoin มีคุณค่ามากกว่าเดิม ไม่ใช่เพียงแค่เป็นเงิน(Money) หรือเงินที่ดี(Sound money) เป็นสินทรัพย์(Asset) หรือ ทรัพย์ที่รักษาคุณค่าตัวเองได้เท่านั้น(Store of value) แต่เค้ามองว่า Bitcoin คือทุกอย่างที่ควรมีของระบบในอนาคต ที่แต่เดิมมันดีอยู่แล้วและเสริมให้มันเป็นความสมบูรณ์แบบในทุกๆด้าน ทุกๆด้านที่มีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับมนุษย์ด้วยกันเอง มันกลายเป็นการวิวัฒน์ Bitcoin ที่ผมมองว่าหากทำเรื่องต่างๆที่ควรทำ ให้ประสบความสำเร็จก็จะเกิด Hyperbitcoinization ที่ผู้คนต่างพากันใช้งานในระบบที่ดีกว่า และสิ่งนี้จะทำให้โลกเข้าสู่ The bitcoin standard อย่างไม่ต้องสงสัยเลย ระบบเศรษฐกิจที่ต่างคนต่างเป็นเจ้าของที่แท้จริงของความมั่งคั่งที่ไม่มีใครมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ มีความเป็นส่วนตัว ไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน ต่างตรวจสอบและธำรงไว้กับระบบซึ่งกันและกัน มีสิทธิเสรีภาพด้วยตนเอง ไม่ต้องถูกใครบังคับ ควบคุม ชี้นำ หรือปล้นไปจากเราได้ มันน่าศิวิไลซ์เสียยิ่งกว่ามีรถบินได้ หรือใช้ชีวิตในอวกาศเป็นไหนๆ จริงไหมครับท่านผู้อ่าน

Synonym will provide users with new Bitcoin-powered services and platforms to accelerate Bitcoin’s growth into an efficient ecosystem for digital commerce.

Synonym

อ้างอิง

synonym.to

Synonym (@Synonym_to) / Twitter

Synonym – Wikipedia

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่

สามารถสนับสนุนเราได้ทางช่องทางต่อไปนี้

Lightning network (Tippin Me)

LN-tippin-me

Lightning network (Alby)

Bitcoin

BitcoinQR

หรือสนับสนุนผ่านช่องทาง Verified creator เพียงแวะชม หรือให้ทริปเราผ่านเว็บบาวเซอร์ Brave


Scroll to Top